วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่4

 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563  เวลา 08:30-12:30




เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์ได้มีการสนทนาพูดคุยกับนักศึกษาก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียน

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

แรกเกิด-2ขวบใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ส่งไปยังสมอง สมองซึมซับ สภาพแวดล้อม การดูแล
2-4เป็นจุดเด่นในเรื่องของภาษา มีการคิดที่ตาเห็น ไม่เห็นคือไม่มี
4-7 สามารถที่จะบอกเป็นประโยคเช่น อยากไปเที่ยว หิวข้าว ขอขนมกิน เริ่มที่จะบอกได้แม้ว่าตาจะเห็น เริ่มใช้เหตุผล เรียกว่าขั้นอนุรักษ์

ธรรมชาติของเด็ก 3-5 ปี
ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
ชอบเล่นแบบคู่ขนาน คือ การนำของเล่นมาเล่นข้างๆกับเพื่อนแต่ต่างคนต่างเล่น
สนใจนิทาน เรื่องราว
อยากรู้ อยากเห็น
ชอบถาม สงสัย
ร้องเพลงง่ายๆ แสดงท่าทาง

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
ตัวเลข เลขฮินดูบารบิก,เลขไทย
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปมาก
บอกลำดับที่ของสิ่งของต่างๆ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง
การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ

อาจารย์ได้สอนการแต่งเพลงเกี่ยวกับการนับเลขสำหรับเด็กปฐมวัยและให้นศ.อัดคลิปส่งเป็นการบ้าน


คำศัพท์ภาษาอังฤษ
1. Straight line = เส้นตรง
2. Direction = ทิศทาง
3. Sensory motor = ประสาทสัมผัส
4. Brain = สมอง
5. Concrete = รูปธรรม

ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตรงต่อเวลา สอนเข้าใจง่ายยกตัวอย่างที่สมารถทำให้เห็นภาพ
ประเมินตนเอง : มีความพร้อมในการเรียน มาก่อนเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์คอยตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์สอนเมื่อเข้าบทเรียนก็พร้อมเรียน ตั้งใจดี


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่3

                          

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3   





EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563  เวลา 08:30-12:30


เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ พัฒนาการ ความสามารถของเด็กที่ทำได้ของแต่ละอายุซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม 
นิยามการเล่น    การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ลงมือกระทำกับวัตถุทั้งที่มีอิสระและครูจัดให้บนพื้นฐานความสนุกสนานอย่างมีความสุข
การเรียนรู้ เด็กต้องมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงจะเกิดการเรียนรู้
วิธีการเรียนรู้อย่างไร
 ผ่านการเล่น     ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ลงมือกระทำกับวัตถุ การสัมผัส การสังเกต ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.Development=พัฒนาการ

2.Absorb=ซึมซับ

3.Accommodation=การปรับโครงสร้าง

4.Experience=การจัดประสบการณ์

5.Assimilation=การซึมซับ การดึงดูด

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ พัฒนาการแต่ละวัย มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินตนเอง  :  บันทึกที่อาจารย์ได้สอน ตั้งใจฟังอาจารย์ มีการตอบคำถามอาจาย์
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนทุกคนมีการโต้ตอบอาจารย์ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน


       


วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


    เรื่องสื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชุดไม้ไอติม

BYครูโบว์

https://youtu.be/9xczNaGwUGU

By ครูโบว์ : สื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชุดไม้ไอติม - YouTube

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ  ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นที่จะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กควรจะได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับ การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่ง การนับ และการวัด  เพื่อเป็นพื้นฐาน  ก่อนที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถม

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

1.การจำแนกประเภท

2.การจัดหมวดหมู่

3.การเรียงลำดับ

4.การเปรียบเทียบ

5.รูปร่างรูปทรง

6.พื้นที่

7.การชั่งตวงวัด

8.การนับ

9.การรู้จักตัวเลข

10.รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข

11.เวลา

12.การเพิ่มและลดจำนวน

จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง สภาพแวดล้อมหนึ่ง ที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภท มีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การผลิตสื่อและของเล่น สำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

ารจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในเบื้องต้นผู้เลี้ยงดูเด็กจะ ต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น แต่การสอนให้รู้จักจำนวน ควรใช้สื่อที่เด็กสนใจ 

สรุปสื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 โทรทัศน์ครู อาจารย์ สง่า ทรัพย์เฮง

    link  https://youtu.be/OKc4PUfFTg8


เด็กจิ๋ว&ดร.โก้ #87 ขวดน้ำกับแรงดันอากาศ - YouTube

ตอน ขวดประดาน้ำ แรงดันอากาศ

การสอนเรื่องขวดประดาน้ำ โดยใช้สื่อปลอกปากกาถ่วงลอยในขวดน้ำดื่ม แสดงการจม การลอยของมวลปลอกปากกา เด็กจะเกิดการสนใจและมีความสนุกสนานใจการเรียนและเด็กก็จะได้เปรียบเทียบกับเรือดำน้ำ การลอยของไข่ไก่ โดยครูมีการตั้งคำถาม ให้เด็กคิดและทดลองเด็กก็จะหาวิธี และหาคำตอบให้ครู
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด
ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส , สเปสกับเวลา
ทักษะการคำนวณ

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 วิจัยเรื่อง ผลจากการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ของเด็กปฐมวัย ของ ยุพาภรณ์  ชูสาย





ความมุ่งหมายของวิจัย

- เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ความสำคัญของวิจัย

- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

- เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี  โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน)  จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้อง เรียน  จำนวน  180 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ  ได้แก่  การจัดการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม  คือ  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  4  ทักษะ  ได้แก่  ทักษะการสังเกต , ทักษะการจำแนกประเภท ,  ทักษะการหามิติสัมพันธ์  ,  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

ระยะเวลาการทดลอง


- ระยะเวลา  8  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  วัน  วันละ 40 นาที  จำนวน 24 ครั้ง

สมมุติฐานการทำวิจัย

-  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย

1. กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  6  ห้องเรียน จับฉลากมา 1 ห้องเรียน
2. สุ่มจับฉลากอีกครั้งเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือในการวิจัย


1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการวิจัย

1. ขอความร่วมมือผู้บริหารโรงเรียน
2. ชี้แจงให้ครูประจำชั้นทราบรูปแบบการวิจัย
3. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นเวลา 3 สัปดาห์
4. ทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้น
5. ดำเนินการทดลองใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติ
6. ประเมินหลังการทดลองด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาค่าสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้แผนกิจกรรมการเรียนรู้สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ


ชื่อกิจกรรม  การขยี้ , การขยำ

จุดประสงค์

1. ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมของตนเอง
3. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้
4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง

การดำเนินกิจกรรม


ขั้นนำ

- ครูนำดอกไม้สีต่างๆให้เด็กดู และมาหยิบคนละ 1 ดอก พร้อมแบ่งกลุ่มตามสีดอกไม้ที่เด็กเลือก

ขั้นสอน


1. นั่งตามกลุ่มสีดอกไม้
2. ครูถามเด็กๆ ว่ารู้จักดอกไม้ที่เลือกหรือไม่ , ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร , เด็กๆลองขยี้และสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
3. ครูแจกกระดาษ A4 และให้เด็กนำดอกไม้ขยี้ลงบนกระดาษและสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้น
4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่านอกจากจะขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีแล้วมีวิธีใดอีกบ้างที่จะทำให้ดอกไม้เกิดสี
5. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์

ขั้นสรุป

1. ครูให้เด็กๆ ออกมานำเสนอผลงานของตนเองจากการขยี้ดอกไม้ให้เกิดสีว่าเป็นอย่างไร
2. ครูและเด็กสรุปสิ่งที่ได้จากการทดลอง

สื่ออุปกรณ์


1. กระดาษ A4
2. ดอกไม้สีต่างๆ

การประเมินผล
1. ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
2. สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
3. สังเกตการตอบคำถาม การสรุปผลการทดลอง

สรุปวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

 ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู


วิทยานิพนธฺของ นางสุธีรา ท้าวเวชสุวรรณ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรปีการศึกษา 2548


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อเปรีบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู

สมมติฐานของการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน

สรุปผลการวิจัย


1. หลังการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครู โดยเรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ได้คะแนนเฉลี่ย สูงสุด ส่วนเรื่องการนับจํานวนเพิ่ม ลด ได้คะแนนเฉลี่ยต่ําที่สุด
2. ความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้ เกมการศึกษาและเพลง กับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู พบว่า เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงโดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากใน ทุกด้าน


 ตัวอย่างเครื่องมือและแผนที่ใช้วิจัย








             

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    


เรื่อง กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์   

จากแหล่งโทรทัศน์ครู     

     

 คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 

1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เ จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก
3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง

สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


จากแหล่งโทรทัศน์ครู



โทรทัศน์ครู อาจารย์ สง่า ทรัพย์เฮง

        วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง




ารเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา    คือ

   1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์

   2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท

   3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ

  4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง



ครั้งที่2

 


       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2    

                                             



EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563  เวลา 08:30-12:30

เนื้อหาที่เรียน
          อาจารย์ได้ให้สรุปบทความวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิจัยคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างการสอนลงบล็อกพร้อมส่งลิ้งให้อาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ประเมินงานและให้ถ่ายรูปกลุ่มลงกระดาน Padlet เพื่อเช็คชื่อ
หนังสือเสริมความรู้ด้านคณิตศาสตร์ - STEM CENTER THAI : Inspired by  LnwShop.com


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการหางานวิจัย บทความและสื่อ
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมาย
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนทุกคนตั้งใจหางานที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ครั้งที่1

การจั

        

   บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1



โรงเรียน สอนจินตคณิต โดยใช้ลูกคิด KidDSquare.com » การคำนวณ
                                                             
EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563  เวลา 08:30-12:30

เนื้อหาที่เรียน

        เป็นวันแรกที่ทำการเรียนการสอนในรายวิชา อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชาและสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในวิชานี้ ข้อตกลงในการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาในเรื่องการแต่งกาย เวลาในการเข้าเรียนและได้มอบหมายงานให้แก่นักศึกษา อาจารย์ให้ทำมายแมพว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เกี่ยวกับอะไรบ้าง
                         

ให้นักศึกษาสร้างบล็อก

 - ชื่อและคำอธิบายบล็อก
 - รูปและข้อมูลผู้เรียน
 - ปฏิทินและนาฬิกา
 - เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยทาง                                  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ , บทความ , สื่อ
  -จับกลุ่ม 3-5 คน ถ่ายรูปแล้วลงใน กระดาน padlet 
    

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
     
1. Science = วิทยาศาสตร์
       2 Mathematics    =    คณิตศาสตร์
       3. Research = วิจัย
       4. Learning    =     การเรียนรู้
       5. Skill    =    ทักษะ



    ประเมินอาจารย์ :อาจารย์ได้บอกแนวทางในการเรียนวิชานี้ ว่าต้องทำอะไรบ้าง ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร
    ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ขณะที่อาจารย์กำลังสอน มีความตรงต่อเวลา ทำงานตามที่อาจารย์                                  ได้รับมอบหมาย
    ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม


ดกิจกรรมทางวิทาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่12

                       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา08.30-12.30 น. เนื้อหาที่เรียน  -อาจารย์ให้จับกลุ่ม 8 คน...